ข้อมูลพรรณไม้ตามโครงการอนุลักษณ์พันธุ์กรรมพืช
ข้อมูลพรรณไม้(วัดวิเชตร์มณี ม.4 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย)
   
ชื่อพันธุ์ไม้ สัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectona grandis L.f.
ชื่อวงค์ LAMIACEAE
ชื่อสามัญ TEAK
ชื่ออื่นๆ ปีฮี ปีฮือ เป้อยี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ปายี้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), เส่บายี้ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร), เคาะเยียโอ (ละว้า-เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไป ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน
ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ
เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น สักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลายๆชนิด
ใบ เป็นใบเดี่ยวใหญ่มาก ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบแหลมโคนมน ยาว 25-30 เซนติเมตร กว้างเกือบเท่ายาว ใบของต้นอ่อนจะใหญ่กว่านี้มาก ผิวใบมีขนสากคายสีเขียวเข้ม ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด
ดอก มีขนาดเล็ก สีขาวนวลออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกและเป็นผลในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
ผล เป็นผลแห้งค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1-3 เมล็ด
ช่วงเวลาการออกดอก : เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม
ประโยชน์ การใช้ประโยขน์ : เป็นไม้มงคล ประโยชน์และสรรพคุณของต้นสักทองยังมีอีกหลากหลาย เช่น การมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด แก้อาการเลือดเป็นพิษ แก้อาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ แก้เจ็บคอ แก้ไข้ กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ร่างกาย ช่วยขับลม ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ฯลฯ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในด้านการก่อสร้าง การนำไปแปรรูปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ