ข้อมูลพรรณไม้ตามโครงการอนุลักษณ์พันธุ์กรรมพืช
ข้อมูลพรรณไม้(วัดวิเชตร์มณี ม.4 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย)
   
ชื่อพันธุ์ไม้ หูกวาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia catappa L.
ชื่อวงค์ COMBRETACEAE)[
ชื่อสามัญ Bengal almond, Indian almond, Olive-bark tree, Sea almond, Singapore almond, Tropical Almond, Umbrella Tree
ชื่ออื่นๆ ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), โคน (นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี), คัดมือ ตัดมือ (ตรัง), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส) (ต้นหูกวางเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดตราด)
ลักษณะทั่วไป ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร บางครั้งอาจสูงได้ถึง 30-35 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่ออกในแนวราบเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร ลำต้นตรง ต้นที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่จะเป็นพูพอนที่โคนต้น เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาเกือบเรียบ แตกเป็นร่องแบบตื้นๆ ตามแนวนอนและแนวตั้ง และลอกออกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ทั่วไป กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล ส่วนเนื้อไม้เป็นสีแดง เป็นกลีบเล็กน้อย มีเสี้ยนไม้ละเอียดสามารถขัดชักเงาได้ดี ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด บางครั้งน้ำ และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำได้ดีอย่างดินร่วนพอควรหรือปนทราย พบขึ้นกระจายตามชายฝั่งทะเล ต้นหูกวางเป็นพืชทิ้งใบ โดยทั่วไปแล้วจะทิ้งใบ 2 ครั้ง ในรอบ 1 ปี หรือในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และอีกช่วงในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งก่อนจะทิ้งใบ ใบหูกวางจะเปลี่ยน เป็นสีเหลืองหรือสีส้มแดง ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำต้นหูกวาง ปลูกทั่วไปในพื้นที่เขตร้อนอย่างทวีปเอเชีย ส่วนในประเทศไทย มักพบขึ้นตามชายฝั่งทะเลทาง
ประโยชน์ สรรพคุณ/การใช้ประโยขน์ : เมล็ดหูกวางสามารถนำมารับประทานได้ และยังมีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เมล็ดเอาไปทำเป็นน้ำมันเพื่อนำไปใช้บริโภค (คล้ายน้ำมันอัลมอนด์) หรือทำเครื่องสำอางได้
เปลือกและผลมีสารฝาดมาก สามารถนำมาใช้ย้อมสีผ้า ฟอกหนังสัตว์ และทำหมึกได้ ในอดีตมีการนำเอาเปลือกผลซึ่งมีสารแทนนินมาใช้ในการย้อมหวาย และได้มีการทดลองใช้ใบเพื่อย้อมสีเส้นไหม พบว่าสีที่ได้คือสีเหลือง สีเขียวขี้ม้า หรือสีน้ำตาลเขียว
ใบแก่นำมาแช่น้ำใช้รักษาบาดแผลของปลาสวยงาม อย่างเช่น ปลากัด ปลาหางนกยูง
เนื้อไม้หูกวาง สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้าง ทำบ้านเรือน หรือเครื่องเรือนได้ดี เพราะเป็นไม้ที่ไม่มีมอดและแมลงมารบกวน หรือนำมาใช้ทำฟืนและถ่านก็ได้